วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

8.4 การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยไทมไลน์และเลเยอร์

ไทม์ไลน์ (Timeline) คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานและควบคุมการเล่นของภาพเคลื่อนไหว ซึ่งไทม์ไลน์จะแบ่งองค์ประกอบออกเป็น ส่วนคือ เลเยอร์และเฟรม
การสร้างภาพเคลื่อนไหวใน Flash จะเหมือนกับการสร้างภาพยนต์ โดยต้องแบ่งเนื้อหาของภาพที่ต้องการให้เคลื่อนไหวออกเป็น ซีน (Scene) ซึ่งก็คือ ตอนหรือฉาก และในซีนจะแบ่งย่อยแต่ละฉากออกเป็น เฟรม (Frame) โดยในเฟรมจะมีองค์ประกอบคือ ฉากหลังและตัวละคร ในการสร้างไม่ได้ใส่องค์ประกอบทุกอย่างลงบนเลเยอร์เดียว แต่จะแยกเลเยอร์กัน เช่น สร้างฉากหลังอยู่ในเลเยอร์หนึ่ง ส่วนตัวละครจะอยู่อีกเลเยอร์ หรือแบ่งส่วนที่เคลื่อนไหวย่อยออกไปเป็นหลายเลเยอร์ เสร็จแล้วจึงนำเอาส่นประกอบต่าง ๆ มารวมให้มีความสัมพันธ์กัน
เราแบ่งไทม์ไลน์เป็น ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์เปรียบเหมือนแผนใสที่สามารถวางภาพ หรือออบเจ็กต์ได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชิ้นงานเดียว
ส่วนเฟรม (Frame) ที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดง อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Frame จะแสดงผลอ ทีละเฟรม โดยจะ มีหัวอ่าน (Playhead) ที่เป็นส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด
เราสามารถเปิด/ปิดไทม์ไลน์นี้ได้โดยคำสั่ง View > Thmeline ให้มีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าคำว่า Timeline เพื่อเปิดไทม์ไลน์ และใช้คำสั่ง View > Timeline อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดไทม์ไลน์ซึ่งเราอาจเปรียบการทำงานของไทม์ไลน์เหมือนกับม้วนฟิล์ม ในขณะที่สเตจคือส่วนที่แสดงแต่ละเฟรมในม้วนฟิล์มนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้
           Keyframe คือ จุดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบน Timeline เราอาจมีเนื้อหาใหม่ใน keyframe หรือทำการเปลี่ยนแปลง Animation บางส่วน ส่วน Frame จะถูก ใช้ระหว่าง Keyframe
เพื่อเติมส่วนของ Animation หรือไทม์ไลน์ เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขเนื้อหาต่าง ๆ ใน Frame เพราะหากเราทำการแก้ไข Frame จะกลายเป็น Keyframe ต่อไป
          Layer เป็นเหมือนการวางแผ่นใสซ้อนทับกันเป็นลำดับชั้นเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยบริเวณของ Layer ที่ไม่มีรูปจะเห็นทะลุถึง Layerด้านล่าง Layer แต่ละ Layer จะมีคุณสมบัติเป็นของตัวเอง การแก้ไขเนื้อหาหรือ Animation ใด ๆ กับ Layer หนึ่งจะไม่ส่งผลกับอีก Layerหนึ่ง
           นักออกแบบและพัฒนา Flash มักนิยมจัดอ็อบเจ็กต์ประเภทเดียวกันไว้บนเลเยอร์เดียวกัน ซึ่งจะทำให้การทำงานง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นนักออกแบบและพัฒนา Flash ยังนิยมสร้าง Layer folder เพื่อการจัดเก็บ Layer ที่มีอ็อบเจ็กต์ใน Layer นั้นคล้ายคลึงกันดังรูปประกอบ เป็นการจัดเรียงลำดับของ Layer ที่ดีทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน Flash
การแทรก  Layer  และ  Scene
โดยทั่วไปแล้วในหนึ่ง  Scene สามารถประกอบ ด้วยหลาย  Layer  ซึ่ง  Layer ที่ลำดับบนสุดคือ ตำแหน่งฉากที่แสดงอยู่เหนือสุด ของชิ้นงาน การแทรก  Layer  สามารถทำได้โดยคลิกเลือก ที่ Layer ใดก็ได้และคลิกขวาเลือกคำสั่ง  Insert  Layer ส่วนการแทรก  Scene เลือกเมนู Insert > Scene



การลบ Layer และ  Scene

การลบ  Layer  สามารถทำได้โดยโดยคลิกเลือกที่ Layer ที่ต้องการลบและคลิกขวาเลือกคำสั่ง  Delete  Layer


การลบ Scene  จะต้องทำการเรียกใช้พาเนล  Scene มาก่อนเพื่อง่ายต่อการจัดการ Scene  โดยเลือกที่เมนูคำสั่ง  Window > Other Panel > Scene หากต้องการลบ Scene คลิกซ้ายค้างไว้เลือกScene ที่ต้อง การลบแล้วลากมาวางลงในถังขยะ
Note : การเรียงลำดับ Scene เรียงลำดับการทำงานตามตำแหน่งที่อยู่บนสุดซึ่งเราสามารถปรับลำดับได้ โดยคลิกเลือก Scene ที่ต้องการย้ายและคลิกซ้ายค้างไว้ ย้ายตำแหน่ง Scene ตามที่ต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่8 ความรู้พื้นฐานการใช้Flash CS6

เนื้อหาสาระ การประยุกต์ใช้งานโปรแกรมFlashสำหรับการออกแบบเว็บเพจเป็นสิ่งที่ทำให้เว็บเพจมีสีสันน่าสนใจเพราะมีภาพเคลื่อนไหวจับรูปธรรมดาทั่วไ...